ตอนที่ 1: คลื่นอัลตร้าโซนิคคืออะไร?

เรียนรู้การเชื่อมอัลตร้าโซนิคง่ายๆ ครั้งละ 1 นาที ☝️ (บทความสั้นอ่าน 1 นาทีจบ) 

ตอนที่ 1: คลื่นอัลตร้าโซนิค (Ultrasonic Wave) คืออะไร? 

หลายคนยังเข้าใจผิดว่าการเชื่อมอัลตร้าโซนิค (Ultrasonic Welding) คือใช้ความร้อนส่งผ่านทูลลิ่งไปที่ชิ้นงาน จึงทำให้งานพลาสติกเชื่อมติดกัน แต่ในความจริงแล้วไม่ได้เป็นเช่นนั้นเลย

ก่อนที่จะกล่าวถึงขั้นตอนการนำคลื่นอัลตร้าโซนิคมาประยุกต์ใช้ในการเชื่อมพลาสติกนั้น ในตอนนี้ เรามาทำความรู้จักกับคลื่นอัลตร้าโซนิคกันก่อนดีกว่า 

โดยปกติแล้ว หูมนุษย์เราจะได้ยินคลื่นเสียงที่มีย่านความถี่ระหว่าง 20 เฮิรตซ์ -20 กิโลเฮิรตซ์ (20,000 เฮิรตซ์) โดยประมาณ คลื่นที่มีความถี่มากกว่านี้หรือต่ำกว่านี้ หูเราจะไม่ได้ยิน และคลื่นที่มีความถี่เท่ากับ 18 กิโลเฮิรตซ์หรือมากกว่านั้น เราจะเรียกคลื่นประเภทนี้ว่า “คลื่นอัลตร้าโซนิค” (Ultrasonic Wave) โดยคำว่า “อัลตร้า” นั้นหมายความว่า พ้นขีด หรือเกิน และ “โซนิค” คือเสียง กล่าวรวมคือ คลื่นที่มีความถี่เกินขอบเขตของเสียงของมนุษย์ที่จะได้ยิน หากต่ำกว่าย่านที่มนุษย์ได้ยิน เราเรียกมันว่า “infrasounds” หรือคลื่นอินฟราโซนิค (Infrasonic Wave)

โหลดฟรี! ข้อมูลลับ*
ตารางตรวจความเข้ากันได้
ในการเชื่อมของเชื้อพลาสติก

โหลดฟรี!  ข้อมูลลับ*
ตารางตรวจความเข้ากันได้ในการเชื่อม
ของเชื้อพลาสติก

เชื่อมติดไม่ดีอาจไม่ใช่เครื่องเชื่อม ไม่ใช่รอยเชื่อม
แต่เป็นเชื้อโพลิเมอร์ที่ไม่แมทช์กัน ข้อมูลสรุปกว่า หมื่นงานเชื่อมจากอเมริกา จำกัดเฉพาะ 100 สิทธิ์แรกเท่านั้น

เชื่อมติดไม่ดี
อาจไม่ใช่เครื่องเชื่อม
ไม่ใช่รอยเชื่อม
แต่เป็นเชื้อโพลิเมอร์ที่ไม่แมทช์กัน

ข้อมูลสรุปกว่า หมื่นงานเชื่อมจากอเมริกา จำกัดเฉพาะ 100 สิทธิ์แรกเท่านั้น

*ตารางนี้ใช้เฉพาะภายในแผนกวิศวกรของประทานกิจฯเท่านั้น

สิ่งมีชีวิตในโลกนี้ มีประสาทการรับรู้ของคลื่นเสียงที่ไม่เหมือนกัน ดูได้จากภาพด้านล่างเป็นต้น

ภาพแสดงให้เห็นถึงการรับรู้ของคลื่นเสียงในสิ่งมีชีวิตอื่นๆที่ต่างกัน

ในเมื่อเข้าใจแล้วว่าคลื่นอัลตร้าโซนิคคืออะไร ในตอนต่อไปเราจะมาเรียนรู้ไปด้วยกันว่า คลื่นอัลตร้าโซนิคนั้นถูกนำมาประยุกต์ในการเชื่อมพลาสติกได้อย่างไร ที่นี่เลย https://goo.gl/mvTZNw

หากไม่อยากพลาดตอนถัดๆไป อย่าลืมใส่อีเมลล์ด้านล่างแล้วกด ติดตามเลย

ประทาน มงคลชัยชวาล
ประทาน มงคลชัยชวาล
ประทาน มงคลชัยชวาล เป็นผู้เชี่ยวชาญเรื่องการเชื่อมพลาสติก โพลิเมอร์ ซึ่งได้ผ่านการเทรนและได้รับการรับรองจากสถาบันการเชื่อมพลาสติกจากสหรัฐฯ หลังจากเรียนจบสาขาฟิสิกส์และคณิตศาสตร์ที่ซานดิเอโก้ อเมริกา ในปี 2005 ประทานได้ทำงานอยู่ในวงการฉีดและประกอบพลาสติกมาแล้วกว่า 12 ปี และปัจจุบันดำรงตำแหน่งผู้บริหารของกลุ่มบริษัทในเครือประทานกิจกรุ๊ป

สาระน่าสนใจอื่นๆ:

แก้ชิ้นงานบิดงอ เสียรูป หลังฉีดง่ายๆ แค่รู้วิธีปรับค่าสำคัญตอนชาร์จฉีดพลาสติก

การฉีดพลาสติก หลังจากขั้นตอนการฉีดและโฮลจนพลาสติกเต็มแม่พิมพ์แล้ว ชิ้นงานที่อยู่ในแม่พิมพ์ยังคงร้อนเกินไปที่จะนำออกจากแม่พิมพ์ จะมีขั้นตอนการทําความ…

แก้ไม่หาย! ชิ้นงานหดตัว แข็งตัว ไม่คงที่ ผิวขุ่น ไม่เงา แก้ด้วยเคล็ดลับการปรับอุณหภูมิแม่พิมพ์

อุณหภูมิของแม่พิมพ์ไม่เหมือนกับอุณหภูมิของน้ำหล่อเย็นที่ใหลเข้าแม่พิมพ์ แต่เป็นอุณหภูมิของโพรงแม่พิมพ์ที่แท้จริงหลังจากที่คงที่แล้ว

อุณหภูมิแม่พิมพ์มีผลอย่างมากกับการฉีดและคุณภาพของชิ้นงาน โดยส่งผลต่อคุณภาพของชิ้นงานในหลายๆ ด้าน เช่นการแข็งตัวพลาสติก การหดตัว อาจมีผลทั้งทางบวกและทางลบ

อุณหภูมิแม่พิมพ์มีผลกับการฉีดและชิ้นงาน…

วิธีผสมสีเม็ดพลาสติกโดยไม่ต้องพึ่งแรงงานคน

ในการผสมระหว่างเม็ดสีกับพลาสติกใหม่ หรือระหว่างพลาสติกใหม่กับพลาสติกรีไซเคิล จะต้องมีความสม่ำเสมอคงที่ตลอดการผลิต เพื่อให้ชิ้นงานที่ฉีดออกมาคงที่สม่ำเสมอทุกชิ้นงาน

เดิมจะใช้คนทำการตวงหรือการชั่งน้ำหนักให้ได้อัตราส่วนที่กำหนดแล้วใส่ในถังของเครื่องผสมเพื่อกวนให้เข้ากัน แล้วจึงนำพลาสติกที่ผสมแล้วไปเทลงฮอปเปอร์บนเครื่องฉีดเพื่อป้อนให้การผลิตชิ้นงานต่อไป

ซึ่งการทำงานในลักษณะนี้ใช้แรงงานคนจำนวนมากและใช้พื้นที่และก่อให้เกิดฝุ่นภายในโรงงาน ทำให้…

อย่าพลาด!

อัปเดททุกอาทิตย์ สาระที่เกียวเนื่องกับอุตสาหกรรมพลาสติก รวมถึงเทคโนโลยีออโตเมชั่นใหม่ๆ เกร็ดความรู้ต่างๆ ติดตามเราเลยวันนี้


เราไม่มีนโยบาย Spam อีเมลล์ลูกค้า เราคัดเฉพาะบทความที่เป็นประโยชน์เท่านั้น และอีเมลล์จะถูกเก็บเป็นความลับไม่มีการแชร์ออกนอกระบบ