สาเหตุใดถึงฉีดพลาสติกได้ไม่เต็ม (Short Shot)?

ฉีดพลาสติกไม่เต็ม (Short Shot) เกิดขึ้นเพราะอะไร?

ข้อบกพร่องแรกที่พบมากในกระบวนการฉีดขึ้นรูปคือ
ชิ้นงานฉีดไม่เต็มแม่พิมพ์  ซึ่งจะพบทุกครั้งในการฉีดครั้งแรกของการฉีดขึ้นรูป
แม้การปรับตั้งปริมาตรการฉีดหรือ ระยะการฉีด (Shot size) ได้กำหนดไว้แล้วก็ตาม หากแต่ปัญหาการฉีดไม่เต็มยังคงเกิดขึ้นได้อีก ทั้งที่ได้ทําการตั้งปริมาตรการฉีดและอุณหภูมิที่เหมาะสมแล้ว 

ภาพแสดงการฉีดไม่เต็มของชิ้นงาน

สาเหตุดังกล่าวเกิดจาก ปริมาณพลาสติกน้อยไป
หรือพลาสติกแข็งตัวก่อนการฉีดเต็มทำให้ฉีดไม่เข้า หรือมีโพรงอากาศภายใน
ซึ่งเป็นผลมาจากปัจจัยหลายอย่างเช่นอุณหภูมิของแม่พิมพ์ยังไม่ได้ค่าที่ทำงาน ทำให้พลาสติกที่ฉีดเข้าไปในแม่พิมพ์เกิดการแข็งตัวก่อนที่จะเต็มแม่พิมพ์
หรือเกิดจากอุณหภูมิของพลาสติกภายในกระบอกยังไม่คงที่  เมื่อพบการฉีดไม่เต็มแม่พิพม์ แนวทางการแก้ไขปัญหาสามารถทําได้ โดย

การปรับตั้งค่าที่เครื่องฉีดพลาสติก

  1. เพิ่มปริมาณเนื้อพลาสติก
  2. เพิ่มอุณหภูมิหลอมเหลวของพลาสติก (Injection temperature) ทำให้พลาสติกแข็งตัวช้าลงสามารถไหลเข้าแม่พิมพ์ได้สะดวกและมากขึ้น
  3. เพิ่มอุณหภูมิของแม่พิมพ์ฉีด (Mold temperature) เพื่อทำให้การเย็นตัวของพลาสติกช้าลงพลาสติกสามารถไหลเข้าแม่พิมพ์ได้มากขึ้น
  4. เพิ่มความดันในการฉีด (Injection pressure) เพื่อเพิ่มแรงในการฉีดพลาสติกให้เข้าในแม่พิมพ์มากขึ้น
  5. เพิ่มความเร็วในการฉีด (Injection speed) ทำให้พลาสติกไหลเข้าแม่พิมพ์ได้เร็วขึ้น
  6. เพิ่มความดันต้านการหมุนถอยหลังกลับของสกรู (Back pressure) ทำให้เนื้อพลาสติกหนาแน่นมากขึ้น
  7. ตรวจสอบการสึกของแหวนกันไหลย้อนกลับ (Non-return valve)

การปรับแก้ที่แม่พิมพ์

  1. เพิ่มขนาดและ/หรือลดความยาวของ ช่องทางวิ่ง (Runner)
  2. เพิ่มตําแหน่ง และขนาดของช่องทางเข้า (Gate)
  3. ปรับขนาดความหนา ของชิ้นงาน (Wall thickness) ให้มีความหนา เพิ่มมากขึ้น
  4. ตรวจสอบขนาดและตําแหน่งของช่อง ระบายอากาศ (Venting) ว่าเพียงพอหรือไม่

หากคุณชอบบทความที่เราเขียนขึ้นเพื่อคุณ อย่าลืมติดตามเราได้ง่ายๆ เพียงใส่อีเมลล์ แล้วกดติดตาม subscribe เลย!

รองศาสตราจารย์ อุดม จีนประดับ
รองศาสตราจารย์ อุดม จีนประดับ
ร.ศ. อุดม จีนประดับ ท่านเป็นผู้เชี่ยวชาญเทคโนโลยีในด้านอุตสาหกรรมและซอฟต์แวร์ชั้นแนวหน้าของประเทศไทย ท่านจบการศึกษาด้านวิศวกรรมการบินและอวกาศจากฝรั่งเศส (MS.AVIONIQUE) ท่านเคยดำรงตำแหน่งเป็น ผ.อ.สำนักหอสมุดกลาง และผ.อ.สำนักคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือแล้ว ท่านยังได้ให้ความกรุณาเป็นประธานที่ปรึกษาทางด้านเทคนิควิทยาการให้กับบริษัทในเครือประทานกิจกรุ๊ปมาโดยตลอดกว่า 25 ปีแล้ว

สาระน่าสนใจอื่นๆ:

แก้ชิ้นงานบิดงอ เสียรูป หลังฉีดง่ายๆ แค่รู้วิธีปรับค่าสำคัญตอนชาร์จฉีดพลาสติก

การฉีดพลาสติก หลังจากขั้นตอนการฉีดและโฮลจนพลาสติกเต็มแม่พิมพ์แล้ว ชิ้นงานที่อยู่ในแม่พิมพ์ยังคงร้อนเกินไปที่จะนำออกจากแม่พิมพ์ จะมีขั้นตอนการทําความ…

แก้ไม่หาย! ชิ้นงานหดตัว แข็งตัว ไม่คงที่ ผิวขุ่น ไม่เงา แก้ด้วยเคล็ดลับการปรับอุณหภูมิแม่พิมพ์

อุณหภูมิของแม่พิมพ์ไม่เหมือนกับอุณหภูมิของน้ำหล่อเย็นที่ใหลเข้าแม่พิมพ์ แต่เป็นอุณหภูมิของโพรงแม่พิมพ์ที่แท้จริงหลังจากที่คงที่แล้ว

อุณหภูมิแม่พิมพ์มีผลอย่างมากกับการฉีดและคุณภาพของชิ้นงาน โดยส่งผลต่อคุณภาพของชิ้นงานในหลายๆ ด้าน เช่นการแข็งตัวพลาสติก การหดตัว อาจมีผลทั้งทางบวกและทางลบ

อุณหภูมิแม่พิมพ์มีผลกับการฉีดและชิ้นงาน…

วิธีผสมสีเม็ดพลาสติกโดยไม่ต้องพึ่งแรงงานคน

ในการผสมระหว่างเม็ดสีกับพลาสติกใหม่ หรือระหว่างพลาสติกใหม่กับพลาสติกรีไซเคิล จะต้องมีความสม่ำเสมอคงที่ตลอดการผลิต เพื่อให้ชิ้นงานที่ฉีดออกมาคงที่สม่ำเสมอทุกชิ้นงาน

เดิมจะใช้คนทำการตวงหรือการชั่งน้ำหนักให้ได้อัตราส่วนที่กำหนดแล้วใส่ในถังของเครื่องผสมเพื่อกวนให้เข้ากัน แล้วจึงนำพลาสติกที่ผสมแล้วไปเทลงฮอปเปอร์บนเครื่องฉีดเพื่อป้อนให้การผลิตชิ้นงานต่อไป

ซึ่งการทำงานในลักษณะนี้ใช้แรงงานคนจำนวนมากและใช้พื้นที่และก่อให้เกิดฝุ่นภายในโรงงาน ทำให้…

อย่าพลาด!

อัปเดททุกอาทิตย์ สาระที่เกียวเนื่องกับอุตสาหกรรมพลาสติก รวมถึงเทคโนโลยีออโตเมชั่นใหม่ๆ เกร็ดความรู้ต่างๆ ติดตามเราเลยวันนี้


เราไม่มีนโยบาย Spam อีเมลล์ลูกค้า เราคัดเฉพาะบทความที่เป็นประโยชน์เท่านั้น และอีเมลล์จะถูกเก็บเป็นความลับไม่มีการแชร์ออกนอกระบบ