แก้ชิ้นงานบิดงอ เสียรูป หลังฉีดง่ายๆ แค่รู้วิธีปรับค่าสำคัญตอนชาร์จฉีดพลาสติก

เกริ่นนำ

แก้ชิ้นงานบิดงอ เสียรูป หลังฉีดออกมาแล้วได้ง่ายๆ ด้วยการปรับพารามิเตอร์สำคัญเวลาชาร์จพลาสติก การฉีดพลาสติก หลังจากขั้นตอนการฉีดและโฮลจนพลาสติกเต็มแม่พิมพ์แล้ว ชิ้นงานที่อยู่ในแม่พิมพ์ยังคงร้อนเกินไปที่จะนำออกจากแม่พิมพ์ จะมีขั้นตอนการทําความเย็น(Cooling) เป็นช่วงเวลาที่กําหนดไว้สําหรับแม่พิมพ์ดูดซับความร้อนจากชิ้นงานพลาสติก 

เราพยายามสร้างความสมดุลระหว่างรอบเวลาการฉีดพลาสติกกับคุณภาพของชิ้นงานที่ฉีดและความสม่ำเสมอ เราต้องการรอบการฉีดที่ใช้เวลาน้อยที่สุดเท่าที่ทำได้

ปัญหาที่พบ

ชิ้นงานขนาดใหญ่ที่มีผนังหนาหรือใช้วัสดุที่มีค่าการนําความร้อนต่ำมีแนวโน้มที่จะบิดงอหรือเปลี่ยนแปลงหลังจากการขึ้นรูปหากใช้เวลาของการทําความเย็นที่ไม่เหมาะสม

รูปภาพชุดฉีด

พารามิเตอร์หลักที่ใช้สําหรับควบคุมการชาร์จพลาสติกได้แก่อุณหภูมิของกระบอกสกรู (Barrel temperature) ความเร็วรอบสกรู ( RPM รอบต่อนาที) และแรงดันท้ายสกรู(Backpressure)

สิ่งที่ควรระวังและสังเกตุ

step 1

ช่วงเวลาการทำความเย็น(Cooling)

ในช่วงเวลาการทำความเย็น(Cooling) เครื่องฉีดพลาสติกจะเริ่มชาร์จพลาสติก (Plasticizing)พร้อมกันไป การชาร์จจะนำพลาสติกใหม่เข้าไปในกระบอกสกรูเพื่อเตรียมพร้อมสําหรับการฉีดรอบต่อไป

สกรูจะเริ่มหมุนเพื่อลําเลียงเม็ดพลาสติกลงในกระบอกสกรู เมื่อพลาสติกในร่องเกลียวสกรูถูกขับดันไปด้านหน้า จะดันสกรูถอยไปด้านหลัง  

ความร้อนที่เกิดจากแรงเฉือนจากการหมุนและแผ่นฮีตเตอร์ที่กระบอกสกรูจะทำให้เกิดการหลอมละลายของพลาสติกในกระบอก

การชาร์จจะต้องทำให้เสร็จสิ้นก่อนเวลาการทำความเย็นจะหมดลง เพื่อไม่ให้เวลาของรอบการฉีดเพิ่มขึ้น

step 2

พารามิเตอร์หลักที่ใช้สําหรับควบคุมการชาร์จพลาสติก

พารามิเตอร์หลักที่ใช้สําหรับควบคุมการชาร์จพลาสติกได้แก่อุณหภูมิของกระบอกสกรู (Barrel temperature) ความเร็วรอบสกรู ( RPM รอบต่อนาที) และแรงดันท้ายสกรู(Backpressure)

ความเร็วรอบสกรูเป็นตัวกำหนดความเร็วในการจ่ายเม็ดพลาสติกไปในกระบอกและแรงดันท้ายสกรูที่ป้องกันการถอยหลังสกรูคือปริมาณแรงต้านทานที่เครื่องฉีดพลาสติกจ่ายออกมาที่ท้ายสกรูเพื่อต้านการถอยหลังของสกรู

step 3

อุหณภูมิของกระบอกสกรู

อุหณภูมิของกระบอกสกรูต้องตั้งให้ตรงกับชนิดของวัตุดิบที่ผู้ผลิตกำหนดให้ การใช้รอบสกรูที่มีความเร็วสูงและแรงดัน Backpressure สูง

ทำให้เกิดการผสมพลาสติกที่หลอมเหลวได้ดีขึ้นแต่จะทำให้อุณหภูมิของพลาสติกในกระบอกสกรูมีค่าเพิ่มขึ้น ซึ่งอาจทําให้พลาสติกร้อนเกินไปจนทำให้พลาสติกเสื่อมสภาพได้

โดยทั่วไปแล้วการกำหนดเวลาในการทําความเย็น (Cooling) เพื่อให้ชิ้นงานแข็งตัวจะนานเพียงพอ ที่จะสามารถตั้งค่าความเร็วรอบสกรูและแรงดัน Backpressure ได้อย่างเหมาะสมโดยไม่ต้องกังวลว่าจะทำให้รอบการทำงานของการฉีดพิ่มขึ้น

step 4

สิ่งที่ต้องเข้าใจในข้อกำหนดของเครื่องฉีดพลาสติก

สิ่งที่ต้องเข้าใจในข้อกำหนดของเครื่องฉีดพลาสติกเกี่ยวกับ ชุดหลอมพลาสติก (Plasticizing unit) คือความสามารถในการหลอมพลาสติก(Plasticizing capacity)

ความสามารถในการหลอมพลาสติกคือปริมาณของพลาสติกหลอมเหลวพร้อมฉีดที่สามารถเตรียมได้ในหน่วยเวลา และข้อกำหนดนี้มีผลต่อปริมาตรของชิ้นงานที่จะฉีดที่สามารถฉีดได้

 ดังนั้นในกรณีของแม่พิมพ์ที่ต้องใช้พลาสติกจํานวนมากจําเป็นต้องใช้เครื่องฉีดที่มีชุดหลอมพลาสติกที่มีความสามารถเพียงพอ

ข้อกำหนดรายละเอียดความสามารถในการหลอมพลาสติก

โซลูชั่นแก้ปัญหา

ตัวอย่างการคำนวณหาอัตราการหลอมเหลว

จากข้อมูลตัวอย่างต่อไปนี้คํานวณอัตราการหลอมพลาสติกเพื่อกำหนดขนาดของเครื่องฉีดเวลาการหมุนสกรู 4.2 วินาที (เวลากำหนดจากการหล่อเย็นสูงสุด)น้ำหนักชิ้นงาน 6.5 กรัมจํานวนกาวิตี้  12 ชิ้นต่อการฉีด 1 ครั้งน้ำหนักของสปรูและรันเนอร์ 9.2 กรัม

อัตราการหลอมพลาสติก Plasticizing rate = น้ำหนักช็อตรวมในเครื่องฉีด (กรัม) / เวลาการหมุนสกรู (วินาที)

น้ำหนักชิ้นงานรวม =  จํานวนกาวิตี้ 12 x น้ำหนักชิ้นงาน 6.5 กรัม = 78 กรัม

น้ำหนักชิ้นงานรวม รวมสปรูรันเนอร์ = 78 + 9.2 = 87.2 กรัม

อัตราการหลอมพลาสติก 87.2/4.2 = 20.76 กรัม/วินาที  หรือ 74.736 กิโลกรัม/ชั่วโมง

เครื่องฉีดจะต้องมีอัตราการหลอมพลาสติก (Plasticizing rate) ที่สูงกว่า 20.76 กรัม/วินาที 74.736 กิโลกรัม/ชั่วโมงเพื่อรองรับการทำงานดังกล่าวได้

หากต้องการสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมหรือต้องการเทสสินค้า ทีมงานผู้เชี่ยวชาญของบริษัทประทานกิจฯ พร้อมยินดีให้บริการช่องทางในการติดต่อLINE: @patankit-vhoTel: 02-869-8970-5

รองศาสตราจารย์ อุดม จีนประดับ

ร.ศ. อุดม จีนประดับ ท่านเป็นผู้เชี่ยวชาญเทคโนโลยีในด้านอุตสาหกรรมและซอฟต์แวร์ชั้นแนวหน้าของประเทศไทย ท่านจบการศึกษาด้านวิศวกรรมการบินและอวกาศจากฝรั่งเศส (MS.AVIONIQUE) ท่านเคยดำรงตำแหน่งเป็น ผ.อ.สำนักหอสมุดกลาง และผ.อ.สำนักคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือแล้ว ท่านยังได้ให้ความกรุณาเป็นประธานที่ปรึกษาทางด้านเทคนิควิทยาการให้กับบริษัทในเครือประทานกิจกรุ๊ปมาโดยตลอดกว่า 25 ปีแล้ว

Picture of รองศาสตราจารย์ อุดม จีนประดับ
รองศาสตราจารย์ อุดม จีนประดับ
ร.ศ. อุดม จีนประดับ ท่านเป็นผู้เชี่ยวชาญเทคโนโลยีในด้านอุตสาหกรรมและซอฟต์แวร์ชั้นแนวหน้าของประเทศไทย ท่านจบการศึกษาด้านวิศวกรรมการบินและอวกาศจากฝรั่งเศส (MS.AVIONIQUE) ท่านเคยดำรงตำแหน่งเป็น ผ.อ.สำนักหอสมุดกลาง และผ.อ.สำนักคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือแล้ว ท่านยังได้ให้ความกรุณาเป็นประธานที่ปรึกษาทางด้านเทคนิควิทยาการให้กับบริษัทในเครือประทานกิจกรุ๊ปมาโดยตลอดกว่า 25 ปีแล้ว

สาระน่าสนใจอื่นๆ:

อย่าพลาด!

อัปเดททุกอาทิตย์ สาระที่เกียวเนื่องกับอุตสาหกรรมพลาสติก รวมถึงเทคโนโลยีออโตเมชั่นใหม่ๆ เกร็ดความรู้ต่างๆ ติดตามเราเลยวันนี้


เราไม่มีนโยบาย Spam อีเมลล์ลูกค้า เราคัดเฉพาะบทความที่เป็นประโยชน์เท่านั้น และอีเมลล์จะถูกเก็บเป็นความลับไม่มีการแชร์ออกนอกระบบ