เลือกเครื่องฉีดงานพลาสติกขึ้นรูปให้เหมาะกับชิ้นงาน

การเลือกขนาดเครื่องฉีดงานพลาสติกขึ้นรูปให้เหมาะสมกับชิ้นงานที่ฉีดเป็นสิ่งสำคัญ !

หากเลือกเครื่องฉีดขนาดใหญ่เกินไปจะทำให้สิ้นเปลืองงบประมาณในการจัดซื้อ และเสียค่าใช้จ่ายในการฉีดชิ้นงานสูงขึ้น เนื่องจากเครื่องฉีดพลาสติกขนาดใหญ่จะใช้พลังงานไฟฟ้ามากกว่าเครื่องฉีดขนาดเล็กเมื่อฉีดชิ้นงานเดียวกัน จึงควรพิจารณาเครื่องฉีดที่เหมาะสมกับชิ้นงานโดยพิจารณาจากแนวทางเบื้องต้นดังนี้

1. ขนาดของชิ้นงานที่มีน้ำหนักหรือปริมาณการฉีดที่ชิ้นงานที่ต้องการ

แต่ละครั้งจะได้จำนวนชิ้นงานชิ้นเดียวหรือหลายชิ้นก็ตาม ต้องนำปริมาณพลาสติกที่ฉีดออกมาทั้งหมดรวมถึงรันเนอร์ที่ออกมาจากเครื่องฉีดในแต่ละครั้งไปเลือกขนาดของเครื่องฉีดที่มีปริมาณฉีดในแต่ละครั้ง ( Theoretical shot volume)ไม่น้อยกว่าที่ชิ้นงานต้องการ หรือน้ำหนักที่ฉีดได้ (Shot weight (PS)) มีค่ามากกว่าน้ำหนักชิ้นงานกรณีที่ใช้พลาสติกชนิดอื่นต้องดูค่าความหนาแน่นของพลาสติกที่ใช้ประกอบเช่นพลาสติก PS มีค่าความหนาแน่น ประมาณ 1.04 กรัม/ซม3 พลาสติก PP มีค่าความหนาแน่นประมาณ 0.95 กรัม/ซม3 หากต้องการใช้พลาสติก PP ฉีดกับเครื่องรุ่น 60 SeIII ที่มีความสามารฉีด PS ได้ 63 กรัม จะสามารถฉีดพลาสติก PP ได้น้ำหนักเป็น (63 X 0.95)/1.04 เท่ากับ 57 กรัม เนื่องจากพลาสติก PP มีความหนาแน่นน้อยกว่า PS จึงได้น้ำหนักน้อยกว่าในกรณีที่ผู้ผลิตโมลมีการกำหนดค่าแรงดันในการฉีดมาด้วย จะต้องพิจารณาแรงดันฉีด(Injection pressure) ของเครื่องฉีดให้เหมาะสมด้วยซึ่งแรงดันฉีดจะเปลี่ยนแปลงกับขนาดของสกรู หากสกรูเล็กลงแรงดันฉีดจะเพิ่มขึ้นแต่ปริมาณการฉีดพลาสติกที่ได้จะลดลง หากสกรูใหญ่ขึ้นแรงดันฉีดจะลดลงแต่ปริมาณการฉีดจะเพิ่มขึ้น เครื่องฉีดพลาสติกจะสามารถเลือกขนาดของสกรูที่ติดตั้งได้

2. ขนาดของแรงบีบปากกา(Clamping force)

เป็นตัวระบุแรงดันบีบปากกาของเครื่องฉีดพลาสติก หากแรงดันบีบน้อยไปอาจทำให้การฉีดมีการแลบของพลาสติก ผู้ผลิตโมลอาจจะกำหนดแรงบีบปากกาที่ใช้ในการฉีดมาให้ จะต้องเลือกเครื่องฉีดที่มีแรงบีบปากกาสูงกว่าที่กำหนดมาให้ เพื่อให้เพียงพอต่อการใช้งานโดยทั่วไปแรงบีบปากกาจะถูกกำหนดเป็นขนาดของเครื่องฉีดพลาสติกมีหน่วยเป็นตัน (ton) ซึ่งเป็นแรงบีบที่สูงสุดที่เครื่องฉีดพลาสติกทำได้ ในการใช้งานสามารถปรับลดแรงบีบลงได้

3. ขนาดของโมลสามารถติดตั้งกับเครื่องฉีดพลาสติกได้หรือไม่

ขนาดของโมลที่ใช้มีขนาดกว้าง x สูง ( Mould dimension) และมีความหนาโมล (Mould thickness)

  1. ดูขนาดของโมลที่ใช้ต้องไม่เล็กกว่าขนาดเล็กสุดของโมลที่เครื่องฉีดพลาสติกยอมให้ใช้ได้ (Min. mould dimension) 

  2. กรณีโมลมีขนาดไม่เล็กกว่าขนาดเล็กสุดที่เครื่องยอมให้ใช้ ดูว่าสามารถติดตั้งในเครื่องฉีดได้หรือไม่โดยดูระยะห่างของเสาปากกา(Distance between tie bars) ซึ่งเป็นขนาดกว้าง x ยาว ขนาดของโมลที่ใช้ต้องมีขนาดเล็กกว่าระยะเสาปากกาจึงติดตั้งโมลเข้ากับแผ่นปากกาได้

  3. พิจารณาความหนาโมลที่ใช้ โมลจะต้องมีความหนาอยู่ในช่วงที่เครื่องฉีดกำหนดให้ใช้ได้ (Mould thickness range) หากโมลที่ใช้มีความหนาน้อยไปอาจมีการเสริมความหนาขึ้นได้ เพื่อให้เครื่องสามารถปิดล็อกปากกาได้ หากโมลที่ใช้มีความหนามากกว่าเครื่องฉีดยอมให้ใช้ได้แผ่นปากกาจะไม่สามารถปิดล็อกได้ต้องเลือกเครื่องฉีดขนาดใหญ่ขึ้นเพื่อให้เหมาะกับขนาดโมลด์ที่ใช้ หากเลือกเครื่องใหญ่ขึ้นปริมาณการฉีดและแรงปิดปากกาจะสูงขึ้นด้วย

  4. ดูระยะการเปิดปิดแผ่นปากกา (Clamping stroke) เป็นระยะสูงสุดของการเปิดปากกา ซึ่งมีความสำคัญกรณีการฉีดชิ้นงานที่มีความลึกเช่นแก้วน้ำหรือถังน้ำที่ต้องใช้ระยะการเปิดปิดโมลมากกว่าปกติเพื่อปลดชิ้นงานออก เช่นชิ้นงานมีความลึก 22 ซม.ระยะที่เปิดโมลแล้วสามารถนำชิ้นงานออกจากโมลได้ อาจเป็น 50 ซม. จะต้องใช้เครื่องที่มีระยะการเปิดปิดปากกามากกว่าระยะนี้

การเลือกขนาดเครื่องฉีดพลาสติกจะต้องเลือกให้ค่าต่างๆ ที่พิจารณาเบื้องต้นผ่านทั้งหมด ทุกข้อกำหนด หากค่าใดค่าหนึ่งไม่ผ่านต้องเลือกขนาดเครื่องที่ใหญ่ขึ้น เพื่อให้รองรับการทำงานได้เพียงพออย่างไรก็ตาม หากคุณยังไม่แน่ใจ หรือมีชิ้นงานที่ต้องการฉีดพลาสติกขึ้นรูป สามารถปรึกษาทีมงานประทานกิจฯ ที่มีประสบการณ์กว่า 30 ปี หรืออ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ ลิ้งค์นี้https://patankit.com/product-overview-plastic-injection-molding-machine/

รองศาสตราจารย์ อุดม จีนประดับ

ร.ศ. อุดม จีนประดับ ท่านเป็นผู้เชี่ยวชาญเทคโนโลยีในด้านอุตสาหกรรมและซอฟต์แวร์ชั้นแนวหน้าของประเทศไทย ท่านจบการศึกษาด้านวิศวกรรมการบินและอวกาศจากฝรั่งเศส (MS.AVIONIQUE) ท่านเคยดำรงตำแหน่งเป็น ผ.อ.สำนักหอสมุดกลาง และผ.อ.สำนักคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือแล้ว ท่านยังได้ให้ความกรุณาเป็นประธานที่ปรึกษาทางด้านเทคนิควิทยาการให้กับบริษัทในเครือประทานกิจกรุ๊ปมาโดยตลอดกว่า 25 ปีแล้ว

Picture of รองศาสตราจารย์ อุดม จีนประดับ
รองศาสตราจารย์ อุดม จีนประดับ
ร.ศ. อุดม จีนประดับ ท่านเป็นผู้เชี่ยวชาญเทคโนโลยีในด้านอุตสาหกรรมและซอฟต์แวร์ชั้นแนวหน้าของประเทศไทย ท่านจบการศึกษาด้านวิศวกรรมการบินและอวกาศจากฝรั่งเศส (MS.AVIONIQUE) ท่านเคยดำรงตำแหน่งเป็น ผ.อ.สำนักหอสมุดกลาง และผ.อ.สำนักคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือแล้ว ท่านยังได้ให้ความกรุณาเป็นประธานที่ปรึกษาทางด้านเทคนิควิทยาการให้กับบริษัทในเครือประทานกิจกรุ๊ปมาโดยตลอดกว่า 25 ปีแล้ว

สาระน่าสนใจอื่นๆ:

อย่าพลาด!

อัปเดททุกอาทิตย์ สาระที่เกียวเนื่องกับอุตสาหกรรมพลาสติก รวมถึงเทคโนโลยีออโตเมชั่นใหม่ๆ เกร็ดความรู้ต่างๆ ติดตามเราเลยวันนี้


เราไม่มีนโยบาย Spam อีเมลล์ลูกค้า เราคัดเฉพาะบทความที่เป็นประโยชน์เท่านั้น และอีเมลล์จะถูกเก็บเป็นความลับไม่มีการแชร์ออกนอกระบบ